การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและการพิทักษ์เด็ดขาด ต่างกันอย่างไร

จากสถิติข้อสอบปรนัยภาคทฤษฎี ได้มีการออกสอบเกี่ยวกับ พ.ร.บ ล้มละลาย

แล้วทุกคนรู้หรือไม่คะ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งในคดีล้มละลาย

ดังนั้นวันนี้ เราจะมาอธิบายข้อแตกต่างระหว่างการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและการพิทักษ์เด็ดขาด เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว

2. คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง

คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือการที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยโจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้นั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือเป็นหนี้ไม่น้อยว่า 1,000,000 บาทในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา และไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ในกรณีที่จำเลยเป็นนิติบุคคล

ซึ่งเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์จะขอถอนฟ้องไม่ได้ และไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ และจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีดังกล่าว คดีล้มละลายอื่นของจำเลยคนเดิมจะต้องถูกจำหน่ายคดีไป

คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว

มาตรา 17 ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันที ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูล ก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว แต่ก่อนจะสั่งดั่งว่านี้จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ให้ประกันค่าเสียหายของลูกหนี้ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้

คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว คือวิธีการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวจะมีผลเช่นเดียวกับการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต่างกันเพียงในคำสั่งพิทักษ์ชั่วคราวนั้นจะไม่มีการประกาศให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ชั่วคราว เจ้าหนี้รายอื่นยังสามารถฟ้องลูกหนี้คนเดิมเป็นคดีล้มละลายอีกคดีได้อยู่

ข้อแตกต่างคือ

1. คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะต้องมีประกาศให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่คำสั่งพิทักษ์ชั่วคราวไม่สามารถยื่นได้

2. คำสั่งพิทักษ์ชั่วคราว เจ้าหนี้รายอื่นนอกจากโจทก์ยังสามารถฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้อยู่ และหากต่อมามีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คดีล้มละลายอื่นจะต้องถูกจำหน่ายคดีจากศาลไป

สำหรับท่านใดที่กำลังวางแผนสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อ่านเองแล้วยังไม่เข้าใจ อยากเพิ่มความมั่นใจ

จะดีกว่าไหมถ้ามีติวเตอร์ทนาย คอยให้คำแนะนำและได้ศึกษาวิธีการทำงานผ่านตำราเรียนที่มาจากสำนวนจริง

สนใจติดต่อได้ที่นี่เลย

Line :@dbacademy